วันอาทิตย์ที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

Moore's lew คืออะรไ


                    กฎของมัวร์ (Moore's law) อธิบายถึง ปริมาณของทรานซิสเตอร์บนวงจรรวม โดยจะเพิ่มเป็นเท่าตัวประมาณทุก ๆ สองปีกฎนี้ได้ถูกพิสูจน์อย่างต่อเนื่องมาแล้วกว่าครึ่งศตวรรษ และคาดว่าจะใช้ได้จนถึงปี 2015 หรือ 2020 หรืออาจมากกว่านั้น
                 ความสามารถของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มากมาย เป็นไปตามกฎของมัวร์อย่างเห็นได้ชัด เช่น ความเร็วประมวลผลความจุของแรม เซ็นเซอร์ หรือแม้แต่จำนวนพิกเซลของกล้องดิจิทัล ทั้งหมดนี้เป็นข้อมูลสนับสนุนอย่างคร่าว ๆ (ยังมีกฎอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเช่นราคาต่อหน่วย) การพัฒนาของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ มีผลต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจโลกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ กฎของมัวร์ได้อธิบายแรงการขับเคลื่อนของเทคโนโลยี ตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ 20 ไปจนถึงต้นศตวรรษที่ 21
              ชื่อของกฎถูกตั้งตามชื่อของ อดีตซีอีโอและผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทอินเทล กอร์ดอน มัวร์ (Gordon E. Moore) เขาได้อธิบายกฎนี้ไว้ในรายงานของเขาเมื่อปี 1965 รายงานนั้นได้ระบุไว้ว่า จำนวนของส่วนประกรอบในวงจรรวมจะเพิ่มเป็นเท่าตัวทุก ๆ ปี ตั้งแต่ปี 1958 ไปจนถึง 1965 และคาดว่าจะเป็นอย่างนี้ไปอีก "อย่างน้อยสิบปี" การทำนายของเขายังเป็นไปตามที่คาดไว้อย่างน่าประหลาดใจ อย่างน้อยกฎนี้ปัจจุบันยังถูกใช้ในอุตสาหกรรมสารกึ่งตัวนำที่ได้ถูกใช้เป็นแนวทางของแผนที่จะเป็นเป้าหมายของของการวิจัย และพัฒนา

วันจันทร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

บิตตรวจสอบ (Parity Bit )

         บิตตรวจสอบ หรือพาริตี้บิต จึงเป็นบิตที่เพิ่มเข้ามาต่อท้ายอีก 1 บิต บิตที่เพิ่มเข้าถือว่าเป็นบิตพิเศษที่ใช้สำหรับตรวจสอบความแม่นยำและความถูกต้องของข้อมูลที่ถูกจัดเก็บลงในคอมพิวเตอร์ มี 2 วิธีคือ
        1.การตรวจสอบบิตภาวะคู่ (Even Parity)
        2.การตรวจสอบบิตภาวะคี่ (Odd Parity)

รหัสแทนข้อมูล


          รหัสแอสกีมีใช้ในระบบคอมพิวเตอร์ และเครื่องมือสื่อสารแบบดิจิทัลต่างๆ พัฒนาขึ้นโดยคณะกรรมการ X3 ซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของสมาคมมาตรฐานอเมริกา (American Standards Association) ภายหลังกลายเป็น สถาบันมาตรฐานแห่งชาติอเมริกา (American National Standard Institute : ANSI) ในปี ค.ศ. 1969 โดยเริ่มต้นใช้ครั้งแรกในปี ค.ศ. 1967 ซึ่งมีอักขระทั้งหมด 128 ตัว (7 บิต) โดยจะมี 33 ตัวที่ไม่แสดงผล (unprintable/control character) ซึ่งใช้สำหรับควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์บางประการ
            รหัสแอสกีได้รับการปรับปรุงล่าสุดเมื่อ ค.ศ. 1986 ให้มีอักขระทั้งหมด 256 ตัว (8 บิต) และเรียกใหม่ว่าแอสกีแบบขยาย อักขระที่เพิ่มมา 128 ตัวใช้สำหรับแสดงอักขระเพิ่มเติมในภาษาของแต่ละท้องถิ่นที่ใช้ เช่น ภาษาเยอรมัน ภาษารัสเซีย ฯลฯ โดยจะมีผังอักขระที่แตกต่างกันไปในแต่ละภาษาซึ่งเรียกว่า โคดเพจ (codepage) โดยอักขระ 128 ตัวแรกส่วนใหญ่จะยังคงเหมือนกันแทบทุกโคดเพจ มีส่วนน้อยที่เปลี่ยนแค่บางอักขระ 
 
 

 
              ความสำเร็จของยูนิโคดคือการรวมรหัสอักขระหลายชนิดให้เป็นหนึ่งเดียว นำไปสู่การใช้งานอย่างกว้างขวางและมีอิทธิพลต่อการแปลภาษาของซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ นั่นคือโปรแกรมจะสามารถใช้ได้หลายภาษา มาตรฐานนี้มีการนำไปใช้เป็นเทคโนโลยีหลักหลายอย่าง อาทิ เอกซ์เอ็มแอล ภาษาจาวา ดอตเน็ตเฟรมเวิร์ก และระบบปฏิบัติการสมัยใหม่ ยูนิโคดสามารถนำไปใช้งานได้ด้วยชุดอักขระแบบต่าง ๆ ชุดอักขระที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดคือ UTF-8 (ใช้ 1ไบต์สำหรับอักขระทุกตัวในรหัสแอสกีและมีค่ารหัสเหมือนกับมาตรฐานแอสกี หรือมากกว่านั้นจนถึง 4 ไบต์สำหรับอักขระแบบอื่น) UCS-2 ซึ่งปัจจุบันเลิกใช้แล้ว (ใช้ 2 ไบต์สำหรับอักขระทุกตัว แต่ไม่ครอบคลุมอักขระทั้งหมดในยูนิโคด) และ UTF-16 (เป็นส่วนขยายจาก UCS-2 โดยใช้ 4 ไบต์สำหรับแทนรหัสอักขระที่ขาดไปของ UCS-2)
 
CHOKCHAI CHUPOL
01000011010010000100111101001011010000110100100001000001010010010100000001000011010010000101010101010000010011110100111101001100   มีขนาดเท่ากับ 15 ไบต์